เมนู

จริงอยู่ จิตเตกัคคตาแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แน่นอนใน
คัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ชื่อว่า ฌาน.1
เพราะฉะนั้น คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร
ดังนี้ ฉันใด แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ในอธิการนี้ว่า สจิตเตกัคค-
ตา
แม้จิตเตกัคคตา ก็ควรทราบว่า เป็นองค์ (แห่งฌาน) ทีเดียว ตาม
พระบาลีในคัมภีร์วิภังค์นี้ ฉันนั้น. จริงอยู่ อุเทศ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำ
ไว้แล้วด้วยพระประสงค์ใด อุเทศนั้นนั่นเอง ก็เป็นอันพระองค์ทรงประกาศไว้
แล้ว แม้ในคัมภีร์วิภังค์ ด้วยพระประสงค์นั้นแล.

[ความหมายแห่ง อุปสัมปัชชศัพท์]


บทว่า อุปสมฺปชฺช แปลว่า เข้าไปใกล้แล้ว. ท่านอธิบายว่า
บรรลุแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ให้เข้าถึงพร้อมแล้ว คือให้สำเร็จแล้ว.
แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บทว่า อุปสมฺปชฺช คือ
ความได้ ความกลับได้ ความถึง ความถึงพร้อม ความถูกต้อง ความทำให้แจ้ง
ความบรรลุ ซึ่งปฐมฌาน. 2 เนื้อความแห่งคำแม้นั้น ก็พึงทราบเหมือนอย่าง
นั้นแล.
บทว่า วิหาสึ ความว่า เรา เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยฌานมีประการ
ดังกล่าวแล้วอย่างนี้ จึงยังการสืบเนื่องกัน การประพฤติเป็นไป การรักษา
การเป็นไป การให้เป็นไป การเที่ยวไป การพักอยู่แห่งอัตภาพให้สำเร็จ ด้วย
อริยาบถวิหาร กล่าวคือการนั่งอยู่ ณ โพธิมัณฑ์. ข้อนี้ สมจริงดังที่พระองค์
ตรัสไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า บทว่า วิหรติ ความว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติ
1. อภิ. วิ. 35 / 347. 2. อภิ. วิ. 35 / 347.

เป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่. ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า พักอยู่.*
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำอะไร จึงทรงเข้าฌานนี้อยู่ ?
แก้ว่า ทรงเจริญกรรมฐาน.
ถามว่า ทางเจริญกรรมฐานอะไร ?
แก้ว่า ทรงเจริญอานาปาสติกรรมฐาน.
ถามว่า คนอื่น ผู้มีความต้องการอานาปานสติกรรมฐานนั้นควรทำ
อย่างไร ?
แก้ว่า แม้คนอื่น ก็ควรเจริญกรรมฐานนั้น หรือบรรดากรรมฐาน
ทั้งหลายมีปฐวีกสิณเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
นัยแห่งการเจริญอานาปานสติกรรมฐานเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบโดย
นัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล. ก็เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวนัยแห่งการเจริญ
ไว้ในอธิกานี้ นิทานแห่งพระวินัยก็จะเป็นภาระหนักยิ่ง. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
จะทำเพียงการประกาศเนื้อความแห่งพระบาลีเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
กถาว่าด้วยปฐมฌาน จบ.
* อภิ.วิ. 35/340

กถาว่าด้วยทุติยฌาน


สองบทว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา ความว่า เพราะเข้าไปสงบ
คือเพราะก้าวล่วงองค์ทั้ง 2 เหล่านี้ คือ วิตกและวิจาร. มีอธิบายว่า เพราะ
วิตกวิจารไม่ปรากฏในขณะแห่งทุติยฌาน.
พึงทราบสันนิษฐานว่า ในบรรดาฌานทั้ง 2 นั้น ธรรมในปฐมฌาน
แม้ทั้งหมด ไม่มีอยู่ในทุติยฌาน ด้วยว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น มีอยู่
ในปฐมฌานเป็นอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานนี้ ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แม้ก็จริง ถึง
กระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะเข้าไปสงบวิตกวิจาร เพื่อ
จะทรงแสดงว่า การบรรลุฌานอื่นจากปฐมฌานมีทุติยฌานเป็นต้น. จะมีได้
เพราะก้าวล่วงองค์ที่หยาบ ๆ ได้.

[อรรถาธิบายอัชฌัตตศัพท์]


ในอธิการนี้ บัณฑิตประสงค์เอา นิยกัชฌัตตัง ชื่อว่า อัชฌัตตัง.
แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพียงเท่านี้ว่า อัชฌัตตังปัจจัต-
ตัง
* เท่านั้น. ก็เพราะบัณฑิตประสงค์เอานิยกัชฌัตตัง ชื่อว่า อัชฌัตตัง
ฉะนั้น ในบทว่า อชฺฌตฺตํ นี้ บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความดังนี้ว่า เกิดแล้ว
ในตน คือเกิดแล้วในสันดานของตน.

[อรรถาธิบาย สัมปสาทนศัพท์]


ศรัทธา (ความเชื่อ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สัมปสาทนะ
ในบทว่า สมฺปสาทนํ นี้ แม้ฌาน ก็ตรัสเรียกว่า สัมปสาทนะ เพราะ
* อภิ. วิ. 35 / 325-348.